วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

♣"เจดีย์ในสมัยรัตนโกสินทร์มีกี่แบบ"





     แต่ละแบบก็จะเรียกได้ว่าฮิตสร้างในสมัยต่างๆ กันไป โดยเจดีย์ทรงปรางค์และเจดีย์ทรงเครื่องจะพบได้ในสมัยรัชกาลที่ 1-3 ซึ่งได้มีการสืบทอดรูปแบบมาจากศิลปะแบบอยุธยาตอนปลายและจะพบมากในสมัยรัชกาลที่ 3
     ส่วนเจดีย์ทรงระฆังนั้นจะพบสร้างขึ้นในวัดช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นการย้อนรูปแบบกับไปทำตามเจดีย์ทรงระฆังในสมัยอยุธยาตอนกลาง ซึ่งรัชกาลที่ 4 ได้สถาปนาขึ้นใหม่จนถือได้ว่าเป็นรูปแบบพระราชนิยมในรัชสมัยนั้น
     สุดท้ายเจดีย์เพิ่มมุมไม้สิบสองที่พบได้ไม่มากนัก แต่ก็มีองค์สำคัญคือ เจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4 ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ที่สร้างขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับเจดีย์ทรงเครื่องของรัชกาลก่อนหน้านี้ทั้งสามรัชกาล
     เจดีย์รูปแบบต่างเหล่านี้จะมีลำดับความสำคัญและความนิยมไปจนถึงหมดความนิยมในช่วงเวลาที่ต่างกันออกไป โดยจะอธิบายเพิ่มเติมลักษณะรูปแบบสำคัญ ที่มา คติการสร้าง หน้าที่การใช้งานในเอนทรี่ถัดไป




วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

♣"วรรณกรรม"รัตนโกสิทร์ตอนต้น

           

"วรรณกรรม"รัตนโกสิทร์ตอนต้น


สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่องความรุ่งเรืองของวรรณกรรมในสมัยยรัตนโกสิทร์ตอนต้น 

ไปดูเลยค่ะ


             ในสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมสมัยรัชกาลที่ 1-2 และต้นรัชกาลที่ 3 มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจากปลายสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี คือ เป็นร้องกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีทั้งนิยาย บทพรรณนา สุภาษิต ส่วนแนวเรื่องจะเกี่ยวกับพุทธประวัติ สุภาษิต บทสดุดี ชาดก ความรัก สงครามกับความรัก สำหรับร้องแก้วมีน้อย


        วรรณกรรมรุ่งเรืองมากในสมัยรัชกาลที่ 2 พระมหากษัตริย์ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งบทละครในเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์บางตอน บทละครนอกเรื่องสังข์ทอง ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์ และมณีพิชัย นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์ กาพย์เห่เรือ บทพากย์โขนบางตอน และเสภาขุนช้างขุนแผนบางตอน ถือเป็นวรรณกรรมร้อยกรองยอดเยี่ยม กวีอื่นๆ ก็มีนายนรินทร์ธิเบศร์ แต่งนิราชนรินทร์ พระยาตรัง แต่งโคลงนิราศตามเสด็จลำน้ำน้อย โคลงนิราศถลาง โคลงเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 2 กลอนเพลงยาว และเป็นผู้รวบรวมโคลงของกวีโบราณไว้ 25 บท


      กวีคนสำคัญที่ถือกันว่าเป็นกวีของประชาชนในสมัยนี้คือ สุนทรภู่ สร้างสรรค์ผลงานหลายประเภทคือ นิราศ บทละคร เสภา กลอน กาพย์ กลอนสุภาษิต บทเห่

♣พัฒนาการของศิลปะไทย



      พัฒนาการของศิลปะไทย

            ศิลปะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์เพื่อสนองความต้องการทางด้านอารมณ์  จิตใจ  ศิลปะสะท้อนปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม  ผลงานศิลปะในแต่ละสังคม  แต่ละยุค  แต่ละสมัย  จึงสามารถบ่งบอกถึงความเจริญ  ความเสื่อมถอย  ความเชื่อ  ค่านิยม  ความสามารถ และสติปัญญาของมนุษย์ในสังคมนั้นๆ  ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาได้นอกเหนือจากบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร            

      


              ศิลปะในประเทศไทย  ส่วนใหญ่เป็นศิลปะเกี่ยวกับศาสนา  การแบ่งยุคสมัยของศิลปะจะต้องใช้รูปแบบลักษณะทางศิลปะที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นเกณฑ์ในการแบ่งช่วงสมัย



         

วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

♣ผู้จัดทำ


แบบเสนอหัวข้อการสร้าง Blog รายวิชา ง31101 การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ผู้เสนอ นางสาวญาณิสา  ภู่ห้อย  ชั้น  ม. 4/10 เลขที่ 8
ชื่อ blog ภาษาไทย   รัตนโกสิทธิ์วันวาน     ชื่อ blog ภาษาอังกฤษ  Thailand chic
ที่อยู่ blog  thailand-chic.blogspot.com
ครูที่ปรึกษา 1.ครูศิวาวุธ  ภาณุพิจารย์
ที่มาและความสำคัญ
เป็นเวลา234ปีแล้วนับแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นนครหลวงแห่งใหม่ถือเป็นการเริ่มต้นยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ระยะเวลากว่าสองศตวรรษทำให้เกิดงานศิลปกรรมที่แสดงพัฒนาการของสังคมมากมายเว็บไซต์นี้จึงจะรวบรวมข้อมูลแนวคิดการปรับเปลี่ยนงานช่างศิลปกรรมแต่ละช่วงสมัยซึ่งมีความโดดเด่นต่างกันเอาไว้เพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจนัยยะที่ถูกซ่อนไว้ใต้งานศิลปกรรมของช่างในอดีตโดยสื่อผ่านทางภาพวาดการ์ตูนที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
1.สร้างบล็อกรัตนโกสินทร์วันวานขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปะของรัตนโกสินทร์ตอนต้นและความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในด้านต่างๆ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ชม
3. เพื่อศึกษาการสร้าง blog และเว็บไซต์
4. เพื่อสำรวจความสนใจในประเทศไทยและศิลปะไทยของทุกคน
ซอฟแวร์ที่ใช้ในการพัฒนา
1.www.bloger.com
2.adobe Photoshop
3.SAI
ขอบเขต
เนื้อหาภายใน Blog จะประกอบไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะของรัตนโกสินทร์ตอนต้นและความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในด้านต่างๆ โดยมีหัวข้อหลักดังนี้
1. ศิลปะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่งดงาม
2. อาหารเด็ดประเทศไทย
3. เที่ยวไทย is so good
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปะของรัตนโกสินทร์ตอนต้นและความรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในด้านต่างๆ
2.ได้รับความรู้ในการสร้างเว็บ

contact me ----->  yanisa_p@sysp.ac.th