วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

♣เศรษฐกิจไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง



เศรษฐกิจไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทำสัญญากับประเทศอังกฤษที่เรียกว่า สัญญาเบาว์ริ่ง (พ.ศ. 2398 ) ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจไทย ดังนี้
1. ลักษณะการผลิต ระบบเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
1.1 การผลิตทางการเกษตร เป็นการผลิตเพื่อการค้าแทนการผลิตเพื่อการยังชีพ เนื่องจากข้าวเป็นสินค้า ที่ต่างประเทศต้องการสูง และรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้มีการส่งออกได้โดยเสรี
1.2 อุตสาหกรรม มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้ากำหนดไว้ตายตัวไม่เกินร้อยละ สาม และมีผลทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน อย่างรวดเร็ว อันได้แก่ การทอผ้าและการทำน้ำตาลและตีเหล็ก เป็นต้น
2. การใช้ปัจจัยการผลิต
2.1 ที่ดิน ที่ดินได้เป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง ขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเป็นสิ่ง จูงใจให้มีการผลิตข้าวมากขึ้น
2.2 แรงงาน เนื่องจากการเพิ่มของประชากร และการลดความเข้มงวดของระบบการเข้าเวรทำงานใน
        สมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้แรงงานมีอิสระพอที่จะทำให้การเพาะปลูกมากขึ้น
3. การค้าขาย ประเทศตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลทางการค้ามากขึ้น ทำให้การค้าแบบผูกขาดของประเทศไทยโดย
     พระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าแบบเสรี และผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศทำให้การค้าภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้เงินตราแพร่หลายขึ้น
4. บทบาทของรัฐบาล ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองเพิ่มขึ้น ได้มีการสร้างชลประทานสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้สร้างทางรถไฟขึ้น ทำให้มีการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสู่ตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น

สรุปผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงต่อเศรษฐกิจไทย - การเสื่อมโทรมของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน 
- การผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก การผลิตแบบพึ่งพา
   ทุนนิยมพึ่งพา 
- การขยายตัวของการค้าภายในและการเกิดเศรษฐกิจเงินตรา 
- การพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตไม่ก้าวหน้า เพราะขาดฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cr.http://lks33314.exteen.com/20101031/entry-4

cr. human.uru.ac.th




♣เซอร์จอห์น เบาว์ริงกับสนธิสัญญาเบาว์ริง

       

  เซอร์จอห์น เบาว์ริงกับสนธิสัญญาเบาว์ริง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไทยต้องเริ่มเผชิญหน้ากับลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกที่แพร่ขยายไปส่วนต่าง ๆ ของโลก ทำให้พระองค์ทรงตระหนักว่าไทยต้องยอมเปิดสัมพันธ์กับประเทศตะวันตกโดยการทำสนธิสัญญาในลักษณะใหม่ที่ทำให้ไทยต้อง “เสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล” และมีเรื่อง               “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” เกิดขึ้น สนธิสัญญาลักษณะใหม่ดังกล่าวนี้ คือ สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ไทยทำกับอังกฤษ
          ก่อนหน้าการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงอังกฤษเคยเข้ามาขอเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรี และการค้ากับสยามตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยส่งจอห์น ครอว์เฟิด เข้ามาเจรจาใน พ.ศ. 2364 แต่การเจรจาครั้งนั้นไม่สำเร็จ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่อังกฤษส่งเฮนรี เบอร์นี เข้ามาอีกครั้งหนึ่ง การเจราจาครั้งนี้ประสบผลสำเร็จทั้งสองฝ่ายตกลงทำสนธิสัญญากันใน พ.ศ. 2369 แต่อังกฤษไม่พอใจเนื่องจากไทยไม่ได้ยกเลิกระบบพระคลังสินค้าและยังเก็บภาษีเพิ่มอีก 38 อย่าง อังกฤษพยายามเจราจาขอแก้ไขสนธิสัญญาหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์ (พ.ศ 2394 – 2411) 
               สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงแต่งตั้งเซอร์ เบาว์ริง เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มเชิญพระราชสาสน์มาเจรจาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับไทยในพ.ศ. 2398 การเจรจาครั้งนี้รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยาม 5 คน คือ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวงศาธิราชสนิท สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์และเจ้าพระยารวิวงศ์ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นทิพากรวงศ์) เป็นผู้แทนการเจรจา การเจรจาครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี เนื่องจากรัชกาลที่ 4 ได้โปรดเกล้าฯให้เซอร์จอห์น เบาริงเข้าเฝ้าเพื่อเป็นการเจรจากันภายในก่อน ขณะเดียวกันสถานการณ์รอบด้านในเวลานั้น เช่น การที่จีนต้องยอมจำนนต่ออังกฤษในสงครามฝิ่น การที่อังกฤษยึดพม่าตอนใต้ได้ ทำให้ ร.4 ต้องเปลี่ยนนโยบายการติดต่อกับต่างประเทศจากที่เคยติดต่ออย่างระมัดระวังเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้ให้ดีเพื่อความอยู่รอดของประเทศ
                เซอร์จอห์น เบาว์ริง เกิดในครอบครัวนายพาณิชย์ที่มณฑลเดวอนไชร์ ในอังกฤษเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2335 เขาได้รับการศึกษาเป็นส่วนตัวขณะที่เริ่มต้นงานในบริษัทการค้าแห่งหนึ่งเมื่อ พ.ศ.2350 เขาพูดได้หลายภาษาเช่น ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี โปรตุเกส เยอรมัน ดัตช์ และใช้ภาษาสวีเดน เดนมาร์ก รัสเซีย อาหรับ จีน ฯลฯ ได้คล่องพอสมควรเขามีธุรกิจของตนเองและสนใจในเรื่องการเมือง ปรัชญาและวรรณคดีด้วย ในพ.ศ.2390 เบาว์ริงได้รับการแต่งตั้งเป็นกงสุลประจำเมืองกวางตุ้งในประเทศจีนซึ่งเขาได้ทำหน้าที่อย่างโดดเด่น พ.ศ.2397 เขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศจีน ซึ่งเท่ากับได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตประจำราชสำนักของประเทศญี่ปุ่น สยาม เวียดนามและเกาหลี พร้อมกับดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและพลเรือโทของฮ่องกงด้วย หลังจากที่สมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียทรงแต่งตั้งให้เขาเป็นอัศวินได้ไม่นานเขาก็มาอยู่ที่ฮ่องกง เบาว์ริงเป็นผู้ว่าการเมืองฮ่องกงและอัครราชทูตประจำประเทศจีนเป็นเวลา 9 ปี ภารกิจแรกสุดในบทบาททางการทูตของเขาคือ ภารกิจพิเศษในประเทศไทยหรือเป็นที่รู้จักกันดีในเวลาต่อมาคือการทำ “สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อพ.ศ.2398 ช่วงปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 เซอร์จอห์น เบาว์ริงได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำลอนดอนและยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” เซอร์จอห์น เบาว์ริงถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 ขณะที่มีอายุ 80 ปี


              สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ลงนามในปี พ.ศ. 2398 มีสาระสำคัญดังนี้
สยามให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลในกรุงเทพฯ และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษ กงสุลอังกฤษเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีต่าง ๆ ทั้งคดีแพ่งและอาญาซึ่งคนในบังคับอังกฤษเป็นจำเลย โดยกงสุลจะลงโทษตามกฎหมายอังกฤษ ส่วนคดีที่คนในบังคับอังกฤษเป็นโจทก์และคนไทยเป็นจำเลยนั้น ให้ขึ้นศาลไทยซึ่งเป็นผู้พิจารณาลงโทษตามกฎหมายไทย ในกรณีนี้กงสุลอังกฤษจะเข้าไปร่วมทั้งการพิจารณาตัดสินได้
คนในบังคับอังกฤษมีสิทธิที่จะทำการค้าโดยเสรีตามเมืองท่าของสยาม (หัวเมืองชายทะเล) ทั้งหมดและสามารถพักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ได้เป็นการถาวร คนในบังคับอังกฤษสามารถซื้อหาหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์ในปริมณฑลของกรุงเทพฯ คือในบริเวณ 4 ไมล์ หรือ 200 เส้นจากกำแพงพระนคร หรือตั้งแต่กำแพงเมืองออกไป เดินด้วยกำลังเรือแจวเรือพายทาง 24 ชั่วโมงได้ อนึ่งคนในบังคับอังกฤษได้รับอนุญาตให้เดินทางภายในประเทศได้อย่างเสรี โดยให้ถือในผ่านแดนที่ได้รับจากกงสุลของตน
มาตรการต่าง ๆ ทางภาษีอากรเดิมให้ยกเลิกและกำหนดภาษีเข้าและขาออกดังนี้
            (ก) ภาษีขาเข้ากำหนดแน่นอนไว้ที่ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าทุกประเภท ยกเว้นฝิ่นซึ่งจะปลอดภาษี แต่จะต้องขายให้แก่เจ้าภาษีฝิ่นเท่านั้น ส่วนเงินแท่งก็ปลอดภาษีเช่นกัน
           (ข) ภาษีขาออกเก็บภาษีเพียงครั้งเดียวไม่ว่าจะเป็นภาษีภายในหรือผ่านแดนหรือส่งออก
พ่อค้าอังกฤษได้รับอนุญาตให้ซื้อและขายโดยตรงกับชาวสยามโดยไม่มีการแทรกแซงจากบุคคลที่สาม
รัฐบาลสยามสงวนสิทธิที่จะห้ามการส่งออกข้าว เกลือและปลา หากเห็นว่าสินค้าดังกล่าวอาจขาดแคลนได้
ไทยจะต้องปฎิบัติต่ออังกฤษเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง ซึ่งหมายถึงถ้าฝ่ายไทยยอมให้สิ่งใด ๆ แก่ชาติอื่น ๆ นอกจากหนังสือสัญญานี้ก็จะต้องยอมให้อังกฤษและคนในบังคับอังกฤษเหมือนกัน
สนธิสัญญาจะบอกเลิกไม่ได้การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ในสัญญาจะกระทำได้เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีแล้ว และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายทั้งต้องแจ้งล่วงหน้า 1 ปี
สนธิสัญญาเบาว์ริงที่ลงนามในปี พ.ศ. 2398 นี้ได้กลายเป็นแม่แบบให้ประเทศต่าง ๆอีก 14 ประเทศเข้ามาทำสนธิสัญญาแบบเดียวกัน และไทยสามารถยกเลิกสนธิสัญญาไม่เสมอภาคนี้ได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์เมื่อพ.ศ. 2481
                 ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงที่มีต่อไทยทางด้านการเมือง แม้การทำสนธิสัญญาครั้งนี้จะทำให้ไทยรอดพ้นจากการถูกอังกฤษใช้กำลังบังคับ แต่ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล
ผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงที่มีต่อไทยด้านเศรษฐกิจไทยต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการค้าให้อังกฤษเพราะไม่มีสิทธิควบคุมการค้าได้อย่างแต่ก่อน ระบบผูกขาดของพระคลังสินค้าและระบบการเก็บภาษีสินค้าแบบเดิมที่ใช้วิธีวัดความกว้างของปากเรือต้องยกเลิกไปเหลือเพียงการเก็บภาษีขาเข้าได้ไม่เกินร้อยละ 3 และเก็บภาษีสินค้าขาออกได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ในภาคผนวกของสัญญาเท่านั้น
อย่างไรก็ตามแม้ว่าสนธิสัญญาเบาว์ริงจะทำให้รายได้ของไทยสูญหายไปเป็นจำนวนมากจากการยกเลิกระบบผูกขาดของพระคลังสินค้า แต่สนธิสัญญาเบาว์ริงก็ทำให้เกิดการค้าเสรีในรูปแบบใหม่ และทำให้การผลิตเพื่อค้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีความต้องการจากต่างประเทศ โดยสินค้าที่ไทยผลิตเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอกได้แก่ ข้าว ไม้สักและดีบุก
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
        - เบาว์ริง, จอห์น, เซอร์. ราชอาณาจักรและราษฎรสยามเล่ม 1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริและกัณฐิกา ศรีอุดม, บรรณาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย, 2551.
          - คำนำเสนอ, คำนำ เพ็ญศรี ดุ๊ก. การต่างประเทศกับเอกราชและอธิปไตยของไทย. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2542.
        - ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุลและธีระพงษ์ เขมฤกษ์อำพล. เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2537. หน่วยที่ 5

♣พระนามเต็มรัชกาลที่1-9






รัชกาลที่ 1


พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 2


พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว




รัชกาลที่ 3



พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ สมมุติเทพยพงศวงศาดิศรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธิเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิตอุกฤษฐวิบูลย บุรพาดูลยกฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ ธัญญลักษณ วิจิตรโสภาคสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคคล ประสิทธิสรรพสุภผลอุดม บรมสุขุมาลยมหาบุรุษยรัตน ศึกษาพิพัฒนสรรพโกศล สุวิสุทธิวิมลศุภศีลสมาจารย์ เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฎิสาธุ คุณวิบุลยสันดาน ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์เอกอัครมหาบุรุษสุตพุทธมหากระวี ตรีปิฎกาทิโกศล วิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณ์คุณสาร สัสยามาทิโลกยดิลกสาร สัสยามาทิโลกยดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดชอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพพิเศษ สิรินธรมหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิษิต สรรพทศทิศวิชิตวิไชย สกลมไหศวรินมหาสยามินทร มเหศวรมหินทร มหาราชาวโรดมบรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาลมหารัษฎาธิเบนทร ปรเมนทรธรรมมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบรมบพิตร พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว




รัชกาลที่ 5


พระบามสมเด็จพระปรมิทรมหาจุฬสลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงศ์ วรุฒมพงษ์บรพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษฏ์ ธัญลักษณวิจิตโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภ ผลอุดมบรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรพรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถเปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศ มโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรามหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติ อาชาวศรัย พุทธาธิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ 6


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิรวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานาถมหาสมมตวงศ์ อดิศัยพงศ์วิมลรัตน์วรขัตติราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณีจักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทร์สูรสันตติวงศ์วิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหาร อดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพวงค์ มหาชโนตมางตประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมาลย์ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยวิเศษสรรพเทเวศรานุรักษ์ บริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุดสมบัติ เสนางคนิกรรัตนอัศวโกศลประพนธปรีชา มัทวสมาจาร บริบูรณคุณสารสยามาทินค รวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายอนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธรบรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษฏาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัยพุทธาธิไตรรัตนสรณารักษ์อดุลยศักดิ์ อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณา สีตลหฤทัย อโนมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



รัชกาลที่ 7


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก มหันตเดชนดิลกรามาธิบดี เทพยปรียามหาราชรวิวงศ์ อสัมภินพงศพีระกษัตรบุรุษรัตนราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถจุฬาลงกรณราชวรางกูร มหมกุฏวงศวีรสูรชิษฐ ราชธรรมทศพิธ อุต์กฤษฎานิบุณย์อดุลยฤษฎาภินิหาร บูรพาธิการสุสาธิต ธันยลักษณ์วิจิตรเสาวภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคมานทสนธิมตสมันตสมาคม บรมราชสมภาร ทิพยเทพวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยศักดิเดช สรรพเทเวศปริยานุรักษ์ มงคลลคนเนมาหวัยสุโขทัยธรรมราชา อภิเนาวศิลปศึกษาเดชาวุธ วิชัยยุทธศาสตร์โกศล วิมลนรรยพินิต สุจริตสมาจาร ภัทรภิชญาณประดิภานสุนทรประวรศาสโนปสุดมภก มูลมุขมาตยวรนายกมหาเสนานี สราชนาวีพยูหโยธโพยมจร บรมเชษฏโสทรสมมต เอกราชยยศสธิคมบรมราชสมบัติ นพปฏลเศวตฉัตราดิฉัตร ศรีรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิศิกต์ สรรพทศทิศวิชิตเดโชไชย สกลมไหศวรยมหาสยามินทรมเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาตอาชาวศรัย พุทธาธิไตรรัตนวิศิษฎศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาศีตลหฤทัย อโนปไมยบุณยการ สกลไพศาลมหารัษฏราธิบดินทร์ ประมินทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว






รัชกาลที่ 8


พระบาทสมเด็จพระปรเมนมหา อานันทมหิดลสกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร(ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๙ ทรงได้รับการสถาปนาพระบรมอัฐิ เฉลิมพระนามเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลอดุลยเดช วิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดมจักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิการรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมราะบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร

รัชกาลที่ 9


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินท
ราธิรา บรมนาถบพิตร




♣อยากรู้อะไรอีก..



♣วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยรัตนโกสินทร์








           ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมากจากการรับวัฒนธรรมของชาติตะวันตก สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงเกิดจากการที่ไทยทำสนธิสัญญาเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2398 และทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตกอื่น ๆ ทำให้มีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในระยะแรก ได้แก่ ผู้ปกครองและชนชั้นสูง เช่น เจ้านาย ขุนนาง ต่อมาชนชั้นกลางได้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทย

1) ด้านการเมืองการปกครอง 

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น เช่น เสด็จประพาสหัวเมืองบ่อยครั้ง อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้า ฯ ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินได้ ให้ราษฎรมองพระพักตร์พระเจ้าแผ่นดินและถวายฎีกาแก่พระองค์ได้โดยตรง ตลอดจนมีการปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งงานออกเป็นกระทรวง กรม ทำให้การฝึกคนเข้ารับราชการมากขึ้น

2) ด้านเศรษฐกิจ 

        ข้าวกลายเป็นสินค้าออกอันดับหนึ่งของไทย มีการบุกเบิกที่ดินเพื่อใช้ปลูกข้าว เช่น บริเวณรังสิต ปรับปรุงระบบชลประทาน การขุดคูคลอง และการตั้งโรงสีข้าว โดยชาวจีนเป็นผู้ค้าข้าวในประเทศและเป็นเจ้าของโรงสี ส่วนชาวยุโรปเป็นผู้ส่งออก
ต่อมาไทยผลิตสินค้าออกที่มีความสำคัญอีก 3 ประการ คือ ดีบุก ไม้สัก และยางพารา การเติบโตของการส่งออกดีบุก ทำให้มีชาวจีนอพยพเข้ามาเป็นแรงงานและอาศัยอยู่ทางภาคใต้ของไทยมากขึ้น เช่น ที่ภูเก็ต
การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจทำให้การค้าขยายไปทั่วประเทศ เมืองขยายตัว เกิดการพัฒนาเส้นทางคมนาคม พ่อค้าเร่ชาวจีนบรรทุกสินค้าไปขายยังหัวเมืองต่าง ๆ ส่งผลให้ชาวจีนอพยพจากรุงเทพมหานครไปอาศัยอยู่ตามชุมชนเมืองในหัวเมือง ซึ่งพัฒนาเป็นชุมชนการค้าของเมืองนั้น ๆ และตั้งรกรากมาจนถึงปัจจุบัน

3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม 

        วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากการปรับปรุงประเทศให้เข้าสู่ความทันสมัยแบบตะวันตก เช่น ราษฎรไทยได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นทาสและไพร่ มีอิสรเสรีในการประกอบอาชีพ ได้รับการรักษาโรคด้วยวิชาการแพทย์แผนใหม่ สามัญชนมีโอกาสได้เล่าเรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เข้าทำงานในกระทรวงต่าง ๆ อ่านหนังสือพิมพ์ ใช้รถไฟ รถยนต์ ไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า น้ำประปา มีถนนหนทางใหม่ ๆ เพื่อใช้เดินทาง ทำให้ชีวิตของคนไทยสะดวกสบายมากขึ้น
นอกจากนี้ชาวไทยทั้งหญิงและชายเริ่มแต่งกายให้เป็นแบบสากลนิยมรับประทานกาแฟ นม ขนมปัง เป็นอาหารเช้าแทนข้าว ใช้ช้อนส้อม นั่งโต๊ะเก้าอี้ มีโอกาสเดินทางไปศึกษาที่ต่างประเทศ รู้จักเล่นกีฬาแบบตะวันตก สร้างพระราชวัง สร้างบ้านแบบตะวันตก นิยมมีบ้านพักตากอากาศในต่างจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 6 คนไทยเริ่มมีคำนำหน้าชื่อบุรุษ สตรี เด็ก เป็นนาย นางสาว นาง เด็กชาย เด็กหญิง ตามลำดับ มีนามสกุลเป็นของตัวเอง ผู้หญิงเริ่มไว้ผมยาวและนุ่งผ้าซิ่น มีการใช้ธงไตรรงค์เป็นธงประจำชาติไทย เป็นต้น



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การดํารงชีวิตสมัยรัตนโกสินทร์





♣การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๗

การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๗
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๗) ทรงวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศตะวันตกดังนี้
          ๑.  จัดตั้งสภาต่าง ๆ เพื่อช่วยบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
               -  อภิรัฐมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
               -  เสนาบดีสภา เป็นที่ประชุมของเสนาบดีประจำกระทรวง
               -  องคมนตรีสภา เป็นสภาที่ปรึกษาในข้อราชการที่ทรงขอความเห็น
          ๒.  เตรียมจัดการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล เพื่อให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองตามแบบอย่างชาติตะวันตก มีการร่างกฏหมายและเตรียมให้ราษฎรเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ แต่ยังไม่ทันประกาศใช้ได้เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อน
          ๓.  จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โปรดเกล้า ฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมจะพระราชทานให้ปวงชนชาวไทยถึง ๒ ครั้ง (พ.ศ. ๒๓๖๙ และ พ.ศ. ๒๔๗๔) แต่ถูกคัดค้านจากพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นสูง เพราะเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังไม่พร้อม

การเมืองการปกครองสมัยประชาธิปไตย
          ๑.  การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย
             ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ สรุปได้ดังนี้
                  ๑.๑  กลุ่มบุคคลผู้ก่อการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง เรียกว่า "คณะราษฎร"
                  ๑.๒  สาเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. ๒๔๗๕
                  ๑.๓  อิทธิพลความคิดทางการเมืองของประเทศตะวันตก 
                  ๑.๔  อิทธิพลของหนังสือพิมพ์ มีการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย
                  ๑.๕  ผลของการปฏิวัติ มีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. ๒๔๗๕
          ๒.  ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
               ๒.๑  ความขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกมีสาเหตุเกิดจาก "ร่างเค้าโครงการเศรษฐกิจ" ของหลวงประดิษฐ์มนูญธรรม (นายปรีดี  พนมยงค์)
                ๒.๒  พระบาทสมเด็จประปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ขณะประทับอยู่ที่อังกฤษ
                ๒.๓  รัฐบาลในชุดต่อมามีนายกรัฐมนตรีมาจากบุคคลในคณะราษฎรหลายคน เช่น
                        -  จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. ๒๔๘๑ ๒๔๘๗) ใช้นโยบายชาตินิยมเป็นแนวทางการสร้างชาติ
                         -  นายปรีดี  พนมยงค์ กรณีการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ ๘
                         -  พลเรือตรีถวัลย์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ (พ.ศ. ๒๔๘๙ - ๒๔๙๐)
                         ต้องเผชิญกับปัญหาความเสื่อมโทรมทางเศรษฐกิจอย่างหนักภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒

การเมืองการปกครองไทยภายใต้บรรยากาศของการรัฐประหาร
          การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทยไม่ราบรื่น ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา จนถึง พ.ศ. ๒๕๔๙ มีการก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากฝ่ายทหาร (รวมทั้งสิ้น ๙ ครั้ง) คือ


การเมืองการปกครองของไทยในยุคกระแสประชาธิปไตย
          มีความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมไทยอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนผู้บริสุทธิ์และรักความเป็นธรรมต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
  • กรณี ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ (วันมหาวิปโยค)
  • กรณี ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
  • เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. ๒๕๓๕ สิ้นสุดลง มีการจัดตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การปกครองสมัยรัตนโกสินทร์

♣การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๖

     


     การปรับปรุงการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘) อุดมการณ์ทางการเมืองในระบอบประชาธิบไตยเริ่มเผยแพร่เข้าสู่เมืองไทย มีเหตุการณ์ทางการเมืองที่สำคัญเกิดขึ้น ๒ ประการคือ
          ๑.  กบฏ ร.ศ. ๑๓๐ เป็นการเคลื่อนไหวของคณะนายทหารกลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า "คณะพรรค ๑๓๐" นำโดยร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ แต่แผนการปฏิวัติรั่วไหลเสียก่อน คณะผู้ก่อการฯ ถูกจับได้ทั้งหมด
          ๒.  การจัดตั้งดุสิตธานี เป็นเมืองจำลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ ๖ ตั้งขึ้นในเขตพระราชวังดุสิต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อฝึกให้ข้าราชการบริหารมีความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิบไตยและเป็นการวางพื้นฐานประชาธิปไตยให้แก่คนรุ่นใหม่



♣การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕




การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
          ๑.  การปฏิรูปในระยะต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาสำคัญ ๒ สภาคือ
               -  สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  (Council Of State)  ทำหน้าที่คล้ายสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
               -  สภาที่ปรึกษาในพระองค์  (Privy Council)  ทำหน้าที่เช่นเดียวกับองคมนตรีในปัจจุบัน

ผลกระทบจากการตั้งสภาทั้ง ๒ คือ พวกขุนนางหัวเก่าคิดว่าจะถูกล้มล้างระบบขุนนางผู้ใหญ่จึงรวมกลุ่มต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ ถึงขั้นที่เรียกว่า "วิกฤตการณ์วังหน้า" ในที่สุดต้องล้มเลิกสภาทั้งสองไป

          ๒.  การปฏิรูประยะที่สอง (ปรับปรุงกิจการบ้านเมืองครั้งใหญ่)
               ๒.๑  เหตุผลสำคัญที่ต้องปฏิรูป
                      -  ทรงตระหนักภัยอันตรายจากลัทธิจักรวรรดิ์นิยมตะวันตก
                      -  ทรงเห็นว่าระเบียบการปกครองและระบบการบริหารประเทศเท่าที่ใช้อยู่มีความล้าหลังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
               ๒.๒  ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูป
                      -  ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และ จตุสดมภ์
                      -  แยกงานราชการออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า "กระทรวง" มีเจ้ากระทรวง เรียกว่า "เสนาบดี"
                      -  แบ่งหน่วยราชการออกเป็น ๑๒ กระทรวง คือ
                            ๑.  กระทรวงมหาดไทย
                            ๒.  กระทรวงกลาโหม
                            ๓.  กระทรวงการต่างประเทศ
                            ๔.  กระทรวงนครบาล
                            ๕.  กระทรวงวัง
                            ๖.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
                            ๗.  กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ
                            ๘.  กระทรวงยุติธรรม
                            ๙.  กระทรวงยุทธนาธิการ
                          ๑๐.  กระทรวงธรรมการ
                          ๑๑.  กระทรวงโยธาธิการ
                          ๑๒.  กระทรวงมุรธาธร
     ทั้งนี้ให้เสนาบดีรับผิดชอบว่าราชการในแต่ละกระทรวงให้เสมอกัน
           -  ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนี้คือ
                  ๑.  ยกเลิกหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก เมืองเอก โท ตรี จัตวา และเมืองประเทศราช และแบ่งเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยให้
                         ข้าหลวงเทศาภิบาล   ดูแล  มณฑล
                         ผู้ว่าราชการเมือง       ดูแล  เมือง (จังหวัด)
                         นายอำเภอ               ดูแล  อำเภอ
                         กำนัน                       ดูแล  ตำบล
                         ผู้ใหญ่บ้าน                ดูแล  หมู่บ้าน
                 ๒.  โปรดให้ประชาชนในท้องถิ่นเลือก กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
                 ๓.  โปรดให้ตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลหัวเมือง ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารตนเองในท้องถิ่น



♣การปรับปรุงพื้นฐานบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔



การปรับปรุงพื้นฐานบ้านเมืองในสมัยรัชกาลที่ ๔



เนื่องจากรัชกาลที่ ๔ ทรงแตกฉานภาษาอังกฤษและวิทยาการสมัยใหม่ อีกทั้งยังมีพระสหายเป็นข้าราชการและพ่อค้าชาวตะวันตก จึงทำให้เป็นผู้รอบรู้ความเป็นไปของโลกได้เป็นอย่างดี จึงได้ริเริ่มปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นชาติที่มีอารยธรรมสากล ดังนี้
          ๑.  โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า
          ๒.  ยกเลิกการบังคับราษฎรให้ปิดประตูหน้าต่างบ้านเรือนขณะพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนิน
          ๓.  อนุญาตให้ราษฎรถวายฎีการ้องทุกข์ได้
          ๔.  ทรงใช้ประกาศเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบและผดุงความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง
          ๕.  ว่าจ้างชาวยุโรปและอเมริกันให้เข้ารับราชการในฐานะที่ปรึกษา เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพและอำนวยประโยชน์แก่ราษฎรอย่างทั่วถึง
ข้อสังเกต รูปแบบการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๔ ยังอยู่ในลักษณะเดิม
         


วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

♣การปกครองส่วนภูมิภาค (หัวเมืองภูมิภาค)







การปกครองส่วนภูมิภาค (หัวเมืองภูมิภาค) ให้อยู่ในความรับผิดชอบของอัครมหาเสนาบดี และเสนาบดี ดังนี้

          ๒.๑  หัวเมืองภาคเหนือและอีสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายก ซึ่งต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการทหาร และพลเรือน ตลอดจนเศรษฐกิจ และรักษาความยุติธรรม
          ๒.๒  หัวเมืองภาคใต้ อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหม มี ๒๐ เมือง ได้แก่ สงขลา พัทลุง นครศรีธรรมราช ไชยา หลังสวน ชุมพร ประทิวคลองวาฬ กุยบุรี ปราน ตะนาวศรี มะริด กระบุรี ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง พังงา ถลาง กาญจนบุรี ไทรโยค และเพชรบุรี
          ๒.๓  หัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก มี ๙ เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สาครบุรี ชลบุรี บางละมุง ระยอง จันทบุรี ตราด อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่า



หัวเมืองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น เมืองเอก โท ตรี จัตวา
เจ้าเมืองเอก ได้รับแต่งตั้งจากราชธานี นอกนั้นให้เสนาบดีผู้เกี่ยวข้องดำเนินการ
หัวเมืองเอกทางเหนือ ได้แก่ พิษณุโลก ทางอีสานมี นครราชสีมา ทางใต้มี นครศรีธรรมราช ถลาง สงขลา  


♣ลักษณะการเมืองการปกครองส่วนกลาง (ราชธานี)



การปกครองส่วนกลาง (ราชธานี) บริหารราชการแผ่นดินแบบจตุสดมภ์ มี ๔ ตำแหน่งเป็นผู้รับผิดชอบงาน

          ๑.๑  กลาโหม มีสมุหกลาโหมเป็นหัวหน้าฝ่ายทหาร มีหน้าที่บังคับบัญชาการฝ่ายทหารและพลเรือนในเขตหัวเมืองภาคใต้ชายทะเลตะวันตก และตะวันออก สมุหกลาโหม มียศและราชทินนามว่า เจ้าพระยามหาเสนา ได้ตราคชสีห์เป็นตราเป็นประจำตำแหน่ง
          ๑.๒  มหาดไทย สมุหานายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเมืองและจตุสดมภ์ มีหน้าที่บังคับบัญชางานทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนแถบหัวเมืองฝ่ายเหนือและอีสานทั้งหมด ไม่ใช้ราชทินนามว่าจักรีเหมือนสมัยอยุธยา และไม่กำหนดแน่นอน บางครั้งใช้รัตนาพิพิธ รัตนคชเมศรา ภูธราพัย บดินทรเดชานุชิต เป็นต้น ใช้ตราราชสีห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
          ๑.๓  กรมเมือง มีหน้าที่ดังนี้
                 -  บังคับบัญชาข้าราชการและดูแลความสงบเรียบร้อยภายในกรุงเทพมหานคร
                 -  บังคับบัญชาศาล พิจารณาความอุกฉกรรจ์มหันตโทษ
เสนาบดีมีตำแหน่งเป็น เจ้าพระยายมราช มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นตราประจำตำแหน่ง
          ๑.๔  กรมวัง มีหน้าที่ดังนี้
                 -  รักษาราชมนเฑียรและพระราชวังชั้นนอก ชั้นใน
                 -  เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับพระราชพิธี
มีอำนาจตั้งศาลชำระความด้วยเสนาบดีคือ เจ้าพระธรรมา ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (พระโค) เป็นตราประจำตำแหน่ง
          ๑.๕  กรมคลัง มีหน้าที่ดังนี้
                 -  ดูแลการเก็บและจ่ายเงิน ผู้ที่ดำรงตำแหน่งคือ พระยาราชภักดี
                 -  ดูแลการแต่งสำเภาไปค้าขายต่างประเทศ และเจริญสัมพันธไมตรี ผู้ดำรงตำแหน่งคือ พระยาศรีพิพัฒน์
                 -  ตรวจบัญชี และดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออกผู้รักษาหน้าที่คือ พระยาพระคลัง ใช้ตราบัวแก้วเป็นตราประจำตำแหน่ง
          ๑.๖  กรมนา มีหน้าที่ดังนี้
                 -  ดูแลรักษานาหลวง
                 -  เก็บภาษีข้าว
                 -  เป็นพนักงานซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง
                 -  พิจารณาคดีเกี่ยวกับเรื่องนา สัตว์พาหนะ
เสนาบดีตำแหน่งเป็น พระยาพลเทพ ใช้ตราพระพิรุณทรงนาค เป็นตราประจำตำแหน่ง