วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559

♣เจดีย์ทรงเครื่อง







         เจดีย์ทรงเครื่องจัดอยู่ในกลุ่มเจดีย์เพิ่มุมประเภททรงเครื่อง สันนิษบานว่าเริ่มปรากฎขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางและมีการสร้างจำนวนมากในช่วงอยุธยาตอนปลายซึ่งนี่ทำให้เกิดการสืบทอดต่อลงมายังสมัยรัตนโกสินทร์


         เจดีย์ทรงเครื่องถือเป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งของเจดีย์ในศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น และสามารถกำหนดได้แน่ชัดว่านิยมในรัชกาลที่ 1-3 เท่านั้น แต่เนื่องจากเจดีย์รูปแบบนี้มีรูปแบบและลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก ทำให้บางครั้งไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเป็นงานที่สร้างขึ้นในสมัยใด ต้องตรวจสอบจากประวัติการก่อสร้างและการบูรณะเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเท่าที่ประมวลได้จากหลักฐานการสร้างใหม่และการบูรณะครั้งใหญ่ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเจดีย์ทรงเครื่องที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีประมาณร้อยละ 80-90 ครั้นมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ก็ไม่มีการสร้างเจดีย์รูปแบบนี้แล้ว แต่กลับมาสร้างเจดีย์ทรงระฆังแทน ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเจดีย์ทรงเครื่องเป็นเจดีย์รูปแบบหนึ่งที่เป็นพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวควบคู่กับเจดีย์ทรงปรางค์ที่นิยมสร้างขึ้นพอๆ กัน

         รูปแบบเจดีย์ทรงเครื่อง

         ส่วนฐาน
         ประกอบด้วยชุดฐานสิงห์ 2-3 ฐานโดยทั่วไปหรือแบบมาตรฐานก็จะมี 3 ฐาน ส่วนแบบ 2 ฐานพบในกลุ่มเจดีย์กลุ่มบริวารขนาดเล็กเท่านั้น และตั้งแต่ชุดฐานล่างสุดไปจนถึงองค์ระฆังอยู่ในผังเพิ่มมุมหรือย่อมุมไม้สิบสอง(กลุ่มเจดีย์ขนาดเล็ก) ย่อมุมไม้สิบหก(กลุ่มเจดีย์ขนาดกลาง) และย่อมุมไม้ยี่สิบ(กลุ่มเจดีย์ขนาดใหญ่) มุมทุกมุมมีขนาดเท่ากันลักษณะพิเศษของเจดีย์ทรงเครื่องในสมัยรัตนโกสินทร์คือการทำทุกส่วนอยู่ในผังเพิ่มมุมตั้งแต่ฐานไปจนถึงบัลลังค์

         ส่วนฐานเขียง
         บางองค์จะมีการเพิ่มฐานที่ประดับประติมากรรมแบก(พลแบก) เช่น ยักษ์แบก หรือกระบี่แบกซึ่งพบเป็นส่วนน้อย ส่วนฐานของเจดีย์ทรงเครื่องบางกลุ่มนิยมทำเป็นลานประทักษิณล้อมรอบด้วยก็มี
         เหนือชุดฐานสิงห์ขึ้นไปจะเป็นส่วนสำคัญคือ บัวทรงคลุ่มรองรับองค์ระฆัง ส่วนนี้เองถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์ทรงเครื่อง

         ส่วนกลาง
         เป็นทรงระฆังในผังเพิ่มุมหรือย่อมุมไม้สิบสองหรือไม้ยี่สิบ ส่วนของบัลลังก์ในกลุ่มเจดีย์ทรงเครื่องมีการปรับเปลี่นจากเดิมที่เป็ฯบัลลังก์ในผังสี่เหลี่ยมมาเป็นผังเพิ่มมุม รองรับส่วนยอดที่ทำเป็นบัวทรงคลุ่มเถา

         ส่วนยอด
         เป็นบัวทรงคลุ่มเถา อันถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์กลุ่มนี้โดยพัฒนามาจากปล้องไฉน ต่อยอดด้วยปลีและปลียอด ในสมัยรัตนโกสินทร์นิยมทำยอดเจดีย์ทรงนี้ให้สูงเกรียวขึ้นไปอย่างมาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น