เศรษฐกิจไทยภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง
สมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทำสัญญากับประเทศอังกฤษที่เรียกว่า สัญญาเบาว์ริ่ง (พ.ศ. 2398 ) ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจไทย ดังนี้
1. ลักษณะการผลิต ระบบเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้
1.1 การผลิตทางการเกษตร เป็นการผลิตเพื่อการค้าแทนการผลิตเพื่อการยังชีพ เนื่องจากข้าวเป็นสินค้า ที่ต่างประเทศต้องการสูง และรัฐบาลไทยได้อนุญาตให้มีการส่งออกได้โดยเสรี
1.2 อุตสาหกรรม มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้ากำหนดไว้ตายตัวไม่เกินร้อยละ สาม และมีผลทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน อย่างรวดเร็ว อันได้แก่ การทอผ้าและการทำน้ำตาลและตีเหล็ก เป็นต้น
2. การใช้ปัจจัยการผลิต
2.1 ที่ดิน ที่ดินได้เป็นปัจจัยการผลิตที่มีราคาสูง ขึ้น เนื่องจากราคาข้าวเป็นสิ่ง จูงใจให้มีการผลิตข้าวมากขึ้น
2.2 แรงงาน เนื่องจากการเพิ่มของประชากร และการลดความเข้มงวดของระบบการเข้าเวรทำงานใน
สมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้แรงงานมีอิสระพอที่จะทำให้การเพาะปลูกมากขึ้น
3. การค้าขาย ประเทศตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลทางการค้ามากขึ้น ทำให้การค้าแบบผูกขาดของประเทศไทยโดย
พระคลังสินค้าเปลี่ยนเป็นการค้าแบบเสรี และผูกพันกับระบบเศรษฐกิจโลก การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศทำให้การค้าภายในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการใช้เงินตราแพร่หลายขึ้น
4. บทบาทของรัฐบาล ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองเพิ่มขึ้น ได้มีการสร้างชลประทานสมัยใหม่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังได้สร้างทางรถไฟขึ้น ทำให้มีการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาสู่ตลาดได้สะดวกยิ่งขึ้น
สรุปผลของสนธิสัญญาเบาว์ริงต่อเศรษฐกิจไทย - การเสื่อมโทรมของอุตสาหกรรมพื้นบ้าน
- การผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก การผลิตแบบพึ่งพา
- การผลิตสินค้าเพื่อสนองความต้องการของตลาดภายนอก การผลิตแบบพึ่งพา
ทุนนิยมพึ่งพา
- การขยายตัวของการค้าภายในและการเกิดเศรษฐกิจเงินตรา
- การพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตไม่ก้าวหน้า เพราะขาดฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- การขยายตัวของการค้าภายในและการเกิดเศรษฐกิจเงินตรา
- การพัฒนาด้านเทคนิคการผลิตไม่ก้าวหน้า เพราะขาดฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
cr.http://lks33314.exteen.com/20101031/entry-4
cr.
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น