วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

♣การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕




การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ ๕
          ๑.  การปฏิรูปในระยะต้นรัชกาล ทรงตั้งสภาสำคัญ ๒ สภาคือ
               -  สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน  (Council Of State)  ทำหน้าที่คล้ายสภานิติบัญญัติในปัจจุบัน
               -  สภาที่ปรึกษาในพระองค์  (Privy Council)  ทำหน้าที่เช่นเดียวกับองคมนตรีในปัจจุบัน

ผลกระทบจากการตั้งสภาทั้ง ๒ คือ พวกขุนนางหัวเก่าคิดว่าจะถูกล้มล้างระบบขุนนางผู้ใหญ่จึงรวมกลุ่มต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ ถึงขั้นที่เรียกว่า "วิกฤตการณ์วังหน้า" ในที่สุดต้องล้มเลิกสภาทั้งสองไป

          ๒.  การปฏิรูประยะที่สอง (ปรับปรุงกิจการบ้านเมืองครั้งใหญ่)
               ๒.๑  เหตุผลสำคัญที่ต้องปฏิรูป
                      -  ทรงตระหนักภัยอันตรายจากลัทธิจักรวรรดิ์นิยมตะวันตก
                      -  ทรงเห็นว่าระเบียบการปกครองและระบบการบริหารประเทศเท่าที่ใช้อยู่มีความล้าหลังเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศอย่างมาก
               ๒.๒  ขั้นตอนการดำเนินงานปฏิรูป
                      -  ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และ จตุสดมภ์
                      -  แยกงานราชการออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า "กระทรวง" มีเจ้ากระทรวง เรียกว่า "เสนาบดี"
                      -  แบ่งหน่วยราชการออกเป็น ๑๒ กระทรวง คือ
                            ๑.  กระทรวงมหาดไทย
                            ๒.  กระทรวงกลาโหม
                            ๓.  กระทรวงการต่างประเทศ
                            ๔.  กระทรวงนครบาล
                            ๕.  กระทรวงวัง
                            ๖.  กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
                            ๗.  กระทรวงเกษตรและพาณิชยการ
                            ๘.  กระทรวงยุติธรรม
                            ๙.  กระทรวงยุทธนาธิการ
                          ๑๐.  กระทรวงธรรมการ
                          ๑๑.  กระทรวงโยธาธิการ
                          ๑๒.  กระทรวงมุรธาธร
     ทั้งนี้ให้เสนาบดีรับผิดชอบว่าราชการในแต่ละกระทรวงให้เสมอกัน
           -  ปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาค ดังนี้คือ
                  ๑.  ยกเลิกหัวเมืองชั้นใน ชั้นนอก เมืองเอก โท ตรี จัตวา และเมืองประเทศราช และแบ่งเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน โดยให้
                         ข้าหลวงเทศาภิบาล   ดูแล  มณฑล
                         ผู้ว่าราชการเมือง       ดูแล  เมือง (จังหวัด)
                         นายอำเภอ               ดูแล  อำเภอ
                         กำนัน                       ดูแล  ตำบล
                         ผู้ใหญ่บ้าน                ดูแล  หมู่บ้าน
                 ๒.  โปรดให้ประชาชนในท้องถิ่นเลือก กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
                 ๓.  โปรดให้ตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลหัวเมือง ที่ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อให้ประชาชนมีส่วนในการบริหารตนเองในท้องถิ่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น